ภาษี e-Services ที่เพิ่งเริ่มจัดเก็บจากผู้ให้บริการต่างประเทศเป็นการเก็บภาษีรูปแบบใหม่ที่ผู้บริโภคหลายคนก็มีความกังขาหลายประเด็นเกี่ยวกับภาษีชนิดนี้ ไม่ว่าจะเป็น จะเอาผิดบริษัทต่างประเทศได้อย่างไรถ้าไม่มีการจดภาษีอย่างถูกต้อง หรือบริษัทไหนมีหน้าที่ต้องเสียภาษีและจดทะเบียนกับกรมสรรพากรไปแล้วบ้าง เป็นต้น วันนี้ผมจึงจะอธิบายให้ผู้อ่านได้รู้กัน 

ทำความรู้จักกับภาษี e-Services

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับภาษี e-Services ก่อน ภาษี e-Services หรือภาษีอิเล็กทรอนิกส์เป็นภาษีที่จัดเก็บจากผู้ประกอบการหรือแพลตฟอร์มที่มีรายได้จากการให้บริการในประเทศไทยมากกว่าหรือเท่ากับ 1.8 ล้านบาทต่อปี ซึ่งความจริงแล้วภาษีนี้ถูกจัดเก็บจากผู้ประกอบการภายในประเทศอยู่แล้ว แต่ยังไม่มีการจัดเก็บจากผู้ประกอบการต่างประเทศ ส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันของผู้ประกอบการในและนอกประเทศ

เพราะผู้บริการภายนอกประเทศไม่จำเป็นต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จึงทำให้ต้นทุนในการบริการถูกกว่า และความจริงแล้วผู้ใช้บริการนั้นจำเป็นต้องมีภาระในการยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มชนิดนี้เองเมื่อใช้บริการ ดังนั้นกรมสรรพากรจึงเริ่มบังคับใช้กฎหมายให้ผู้ประกอบการหรือแพลตฟอร์มต่างประเทศที่มีรายได้จากประเทศไทยมากกว่าหรือเท่ากับ 1.8 ล้านบาทต่อปีเข้ามาจดทะเบียนเสียภาษีมูลค่าเพิ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 และทำให้ผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องมีภาระในการยื่นจ่ายภาษีชนิดนี้ด้วยตนเองอีกต่อไป 

e-Service ที่ได้กล่าวมาครอบคลุมธุรกิจพาณิชอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ 

1. เว็บไซต์แสดงรูป และราคาสินค้า (Catalog Website) 

2. เว็บไซต์เพื่อการขายสินค้า (e-Shopping) 

3. การขายสินค้าบนชุมชนเว็บบอร์ดโดยผู้ขายไม่มีเว็บไซต์เป็นของตนเอง (Community Web) 

4. เว็บไซต์เพื่อการประมูลขายสินค้า (eAuction) 

5. เว็บไซต์ห้างสรรพสินค้าออนไลน์ (e-Market Place หรือ Shopping Mall) 

6. เว็บไซต์แหล่งซื้อขายภาพถ่ายดิจิตอล (Stock Photo)  

7. การรับโฆษณาจากเว็บไซต์กูเก (Google AdSense) 

8. การทำให้ผลการค้นหาบนกูเกิ้ลติดลำดับแรก  (SEO หรือ Search Engine Optimization) 

9. เว็บไซต์นายหน้าการขายสินค้าและบริการ (Affiliate Marketing) 

10. การเล่นเกมผ่านระบบเครือข่ายออนไลน์ (Game Online) 

ซึ่งผู้อ่านสามารถตรวจสอบรายชื่อบริษัทที่เข้าจดทะเบียนยื่นภาษีมูลค่าเพิ่ม e-Services ได้ที่เว็บไซต์นี้ 

https://eservice.rd.go.th/rd-ves-web/search/company?fbclid=IwAR1lHYS6XiL7nbX0gt4ltx3Dh3QyZqcBkJbKJ-twNKB9T4tfduyLT5ye28g 

ส่วนในเรื่องของการเอาผิดบริษัทต่างประเทศได้ถ้าไม่มีการจดภาษีอย่างถูกต้อง กรมสรรพากรก็คาดว่าจะต้องมีการขอความร่วมมือจากสรรพากรของประเทศต้นทางเพื่อให้สามารถจัดเก็บภาษีได้ นอกจากนี้ยังมีกฎหมายแพ่งและอาญาเพื่อเอาผิดผู้ประกอบการที่หลีกเลี่ยงภาษีชนิดนี้อีกด้วย 

ผู้เขียน เธียรวิชญ์ สิริสาครสกุล 

วันที่ 10 กันยายน 2564